กติกา ไก่ชน มีอะไรบ้าง อธิบายให้เข้าใจกันอย่างละเอียด

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ที่กำลังสนใจการเล่นไก่ชนอยู่ หรือกำลังศึกษาวิธีเล่น และอาจจะอยากทราบวิธีคิดคะแนน ตัดสินผลแพ้ชนะของการชนไก่ ก่อนจะเล่นหรือดูไก่ชน บทความนี้ผมจึงจะมาพูดถึง กติกา ไก่ชน ให้ฟังกันอย่างละเอียดเลย ว่าเขาคิดคะแนนกันยังไง แบบไหนถึงตัดสินว่าชนะ จะมีรายละเอียดเป็นยังไงไปดูกันเลยครับ

 

ไก่ชน

ไก่ชน (Cockfighting) คือ ไก่สายพันธุ์พื้นเมืองที่ผูกพันกับสังคมทุกชนชั้นมาตั้งแต่อดีต นิยมเลี้ยงกันมากทั้งในบ้านเรา และประเทศเพื่อนบ้านตามวิถีชนบท และสังคมเกษตรกรรม เป็นไก่ที่เมื่อตัวผู้โตเต็มวัยมักจะต่อสู้กันอยู่เสมอ ผู้คนนิยมเลี้ยงไว้ 2 ลักษณะคือ อย่างแรกเพื่อประกวดความสวยงาม ต่อสู้แข่งขัน และเพื่อใช้ในการบริโภค

ชนไก่ ก็เป็นเกมเดิมพันรูปแบบหนึ่งที่ผู้คนได้คิดค้นขึ้นมา คล้ายๆ กับการชกมวยของคนนั่นแหละครับ ซึ่งจะมีกติกา และวิธีคิดคะแนนตัดสินแพ้ชนะในแบบต่างๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นมา และเปิดให้ผู้เข้าชม หรือเจ้าของไก่ลงเดิมพันได้

ซึ่งในปัจจุบันการเลี้ยงไว้สำหรับแข่งขัน และประกวดราคาของไก่ชนเริ่มมีแนวโน้มที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะไก่ที่ยิ่งชนะบ่อยๆ หรือมีรูปแบบสีสันที่สวยงาม ก็ยิ่งมีราคาสูงตามไปด้วย จนมีตลาดการซื้อขายไก่ชนมากมาย ส่งขายทั้งภายใน และต่างประเทศกันเลย

ไก่ชน - กติกา ไก่ชน
ไก่ชน (Cockfighting)

 

กติกา ไก่ชน แบบสมัครเล่น หรือบ๊อกซิ่ง

เป็นการแข่งขันแบบสั้น ที่เล่นกันในวงเล็กๆ หรือเพื่อฝึกซ้อมไก่ก่อนนำไปแข่งขันรายการที่ใหญ่ขึ้น จะใช้เวลาในการแข่งไม่นานมากนัก มีรายละเอียดข้อกำหนด และการแข่งขันดังต่อไปนี้

ข้อกำหนดในการแข่งแบบสมัครเล่น

  1. ลงประวัติสายพันธุ์ของไก่ชน และชั่งน้ำหนัก
  2. การเทียบคู่แข่งจะใช้น้ำหนัก และส่วนสูงของไก่เป็นเกณฑ์
  3. ไก่ชนที่ลงแข่งจะต้องสวมเดือย และนวมมาตรฐานของการแข่ง
  4. ผู้เลี้ยงจะ ถ่างตา เสริมปีกได้เฉพาะก่อนการแข่งขันเท่านั้น
  5. แข่งขันทั้งหมด 4 ถึง 5 ยก ยกละ 10 นาที พักระหว่างยก 2 นาที
  6. ระหว่างพักยกน้ำที่เอาให้ไก่จะต้องเป็นน้ำจากส่วนกลางที่ทางสนามจัดให้เท่านั้น
  7. ผู้เลี้ยงห้ามไขหัว(เอาเลือดคั่งออก) ถ่างตา กินข้าว เย็บแผล และโด๊ปยา ในช่วงพัก
  8. ห้ามใช้น้ำมัน ยาหม่อง สมุนไพร หรือสารเคมีใดๆ ทาที่ตัวไก่ ถ้าเจอปรับแพ้ทันที

 

กติกา ไก่ชน แบบสายอาชีพ หรือทางยาว

การแข่งแบบนี้จะใช้เวลาต่อยกค่อนข้างยาว ส่วนใหญ่จะเป็นไก่ที่ได้รับการฝึกสำหรับแข่งขันจนมีฝีมือระดับหนึ่ง ใช้เวลาต่อยกค่อนข้างนาน มีข้อกำหนด และรายละเอียดการแข่งดังต่อไปนี้

ข้อกำหนดในการแข่งแบบสายอาชีพ

  1. ลงทะเบียนประวัติสายพันธุ์ และชั่งน้ำหนักไก่
  2. สวมเดือย และนวมมาตรฐานตามที่สนามกำหนด
  3. ผู้เลี้ยงถ่างขา เสริมปีก ได้ก่อนการแข่งเท่านั้น
  4. ไก่ตัวใดหนีก่อนตั้งแต่ช่วงซ้อมถือว่ายกเลิกการแข่งไป
  5. ใช้เวลาในการแข่งไม่เกิน 12 ยก ยกละ 20 นาที และพัก 20 นาที
  6. ระหว่างพักผู้เลี้ยงสามารถ โด๊ปยา กินข้าว และทำแผลไก่ได้
  7. ห้ามฉีดยา และทายาทุกชนิดบนตัวไก่
  8. การพันเดือย และเล็บจะต้องใช้พลาสเตอร์พันในสนามเท่านั้น
  9. ไก่ที่ปากหัก นิ้วงอ ให้ใช้ขนไก่ในการดาม ห้ามใช้เหล็ก หรือไม้
  10. นอกเหนือจากนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าของสนาม

 

การตัดสินแพ้ชนะ

การนับคะแนนจะใช้กรรมการนับทั้งหมด 3 คน โดยจะเริ่มกดให้คะแนนตั้งแต่ยกที่ 4 เป็นต้นไป เกณฑ์ในการให้คะแนนมีดังนี้

  1. ตีถูกคู่ต่อสู้เห็นได้ชัดเจนนับ 1 คะแนน ใช้กรรมการ 1 ใน 3 ตัดสิน
  2. ตีถูกคู่ต่อสู้ และคู่ต่อสู้ออกอาการชัดเจนนับ 2 คะแนน ใช้กรรมการ 2 ใน 3 คนตัดสิน
  3. หันหลังไม่สู้ 3 ครั้ง หลังจากที่นายสนามจับหันหน้าชนกัน ถือว่าแพ้
  4. นอน หรือหมอบไม่ยอมลุกขึ้นสู้ ถือว่าแพ้
  5. ปากหลุด ถือว่าแพ้
  6. ไก่บาดเจ็บมากเกินไป ตาปิด เลือดออก หรืออื่นๆ นายสนามจะเป็นผู้พิจารณา ถ้าไม่เหมาะแข่งต่อจะให้แพ้
  7. เจ้าของไก่ยอมแพ้โดนโยนผ้าขาว
การตัดสิน - กติกาไก่ชน
การตัดสินแพ้ชนะ – กติกา ไก่ชน

 

รุ่น และน้ำหนัก

ก่อนการแข่งจะต้องลงประวัติ และประเมินน้ำหนัก(กิโลกรัม) ก่อนว่าไก่แต่ละฝั่งตรงกับรุ่น หรือไม่ จะแบ่งออกเป็น 12 รุ่นจากใหญ่ไปหาเล็กดังนี้

  1. รุ่นเฮฟวี่เวท – ไม่จำกัดน้ำหนัก
  2. รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท ,ซูเปอร์มิดเดิลเวท – 3.8 ถึง 3.89 กก.
  3. รุ่นมิดเดิลเวท – 3.7 ถึง 3.79 กก.
  4. รุ่นไลท์มิดเดิลเวท – 3.6 ถึง 3.69 กก.
  5. รุ่นซูเปอร์ไลท์เวท – 3.5 ถึง 3.59 กก.
  6. รุ่นไลท์เวท – 3.4 ถึง 3.49 กก.
  7. รุ่นเฟเทอร์เวท – 3.3 ถึง 3.39 กก.
  8. รุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท – 3.2 ถึง 3.29 กก.
  9. รุ่นแบนตั้มเวท – 3.1 ถึง 3.19 กก.
  10. รุ่นฟลายเวท – 3.0 ถึง 3.09 กก.
  11. รุ่นสตรองเวท – 2.9 ถึง 2.99 กก.
รุ่นของไก่ชน - กติกา ไก่ชน
รุ่น และนำหนักของไก่ชน

และก่อนจากกันผมมีบทความ ไก่ชนออนไลน์ สำหรับผู้ที่สนใจจะเดิมพันไก่ชนออนไลน์ ที่มีตารางให้วางเดิมพันได้มากมายหลายแบบ และมีเว็บ ถ่ายทอดสดไก่ชน ให้ดูอีกด้วย หากสนใจเข้าไปอ่านดูรายละเอียดกันได้เลย มีเว็บแนะนำให้พร้อมด้วยครับ

 

ทิ้งท้าย

จบไปแล้วครับสำหรับบทความ กติกา ไก่ชน เป็นกติกาที่ผมได้รวบรวมข้อมูล และนำมาสรุปให้ดูกันง่ายๆ นอกจากนี้อาจจะยังมีกติกาแยกย่อยลงไปอีกแล้วแต่ตามสนามจะเป็นผู้กำหนด หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เริ่มสนใจการชนไก่ให้เริ่มต้นได้อย่างดีครับ สำหรับบทความนี้ผมขอจบเพียงเท่านี้ ขอบคุณที่ติดตาม Stakehow.com

หากชอบบทความของเรากดเพิ่ม LINE Stakehowเอาไว้ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงาน พร้อม กดกระดิ่งด้านขวา ล่างของหน้าจอ เพื่อแจ้งเตือนบทความใหม่ๆ จากทางเราได้ครับ พบกันใหม่บทความหน้า สวัสดีครับ